ฝากมาดูบล็อกเจนด้วยนะค่ะ

บทที่1

ระบบสารสนเทศ

ความหมายและลักษณะของระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศ คือ กระบวนการรวบรวม บันทึก ประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุมการทำงานและช่วยในการตัดสินใจ

 กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

หลักๆมีดังนี้

1.การนำข้อมูลเข้า (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมมาเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ

2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ จัดรูปแบบ หรือแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ

3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่เราต้องการ

4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลหรือสารสนเทศ เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในอนาคต

 ลักษณะของระบบสารสนเทศที่ดี

1.เชื่อถือได้                                  2.เข้าใจง่าย

3.ทันต่อเวลา                               4.คุ้มราคา

5.ตรวจสอบได้                            6.ยืดหยุ่น

7.สอดคล้องกับความต้องการ     8.สะดวกในการเข้าถึง

9.ปลอดภัย

 ประเภทของระบบสารสนเทศ

จำแนกตามลักษณะการดำเนินงาน มี 8 ประเภท ดังนี้

1.ระบบสารสนเทศประมวลผลรายงานธุรกรรม (TPS: Transaction Processing System) เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึก และประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรม หรือการปฏิบัติงานประจำ

 2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS: Management Information System) เป็นการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศประมวลผลรายการธุรกรรมมาประมวลผล เพื่อนำไปใช้ สารสนเทศที่ได้จากระบบนี้จะอยู่ในรูปแบบของรายงานสรุปประเภทต่างๆ

 3.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS: Decision Support System) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อนำมาประมวลผลให้ได้สารสนเทศที่ช่วยผู้บริหารระดับสูงตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

4.ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS: Group Decision Support System) มักใช้ในการประชุมทางไกล (Teleconference) การลงคะแนนเสียง และการสอบถามความคิดเห็น

 5.ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS: Geographic Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่จัดเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ไว้ แล้วนำมาจัดแสดงในรูปแผนที่ดิจิทัล

 6.ระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง (EIS: Executive Information System) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม ส่วนใหญ่จะนำเสนอในรูปแบบตาราง กราฟ

 7.ปัญญาประดิษฐ์ (AT: Artificial Intelligence) คือการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีความสามารถในการเรียนรู้ ประสาทสัมผัสซึ่งเลียนแบบมนุษย์ เช่น ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์

 8.ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS: Office Information System) เป็นระบบที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ

ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอร์ฟแวร์ บุคลากร ข้อมูลและขั้นตอนปฏิบัติงาน

1.ฮาร์ดแวร์ (Hardware)

     คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้งานในระบบสารสนเทศ แบ่งตามการทำงานของคอมพิวเตอร์ดังนี้

- หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ อุปกรณ์รับข้อมูลต่างๆ เช่น Keyboard ,Mouse ,Scanner เป็นต้น

- หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (CPU: Central Processing Unit)  มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือชิป (Chip) ภายในประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆรวมอยู่มากภายในคอมพิวเตอร์ โดยจะเรียกซีพียูว่า “โพรเซสเซอร์” ใช้ในการประมวลผล

-หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำงานเร็วมากที่สุด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

                 1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล ที่รู้จักทั่วไป คือ แรม,รอม และซีมอส

                 2.หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Devices) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์,แผ่นซีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์

- หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ Projector เป็นต้น

 2. ซอฟต์แวร์ (Software)

     คือ โปรแกรมหรือคำสั่งที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

                1)ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือคำสั่งควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ระบบปฏิบัติการ และโปรแกรมอรรถประโยชน์

                - ระบบปฏิบัติการ (OS: Operating System) เป็นชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้กับผู้ใช้ เช่น Windows XP ,Linux เป็นต้น

                - โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ดูแลความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมWinZip ,Windows Explorer เป็นต้น

                2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานในด้านต่างๆตามความต้องการของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น Microsoft Office ,Media player และPhotoScape เป็นต้น

 3.บุคลากร (People ware)

    บุคลากร คือ คนที่ปฏิบัติงานในด้านคอมพิวเตอร์  โดยในระบบสารสนเทศแบ่งได้ 4 ระดับ คือ นักวิเคราะห์ระบบ โปรแกรมเมอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง และผู้ใช้

                1.นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศที่ต้องการ ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น หาแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง อาจมีการออกแบบและสร้างระบบสารสนเทศขึ้นใหม่โดยประสานงานกับโปรแกรมเมอร์

                2.โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้ที่รับระบบสารสนเทศที่ได้จัดทำไว้จากนักวิเคราะห์ มาเขียนหรือสร้างให้เป็นโปรแกรม เพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงานได้ตามผลลัพธ์ที่ต้องการ

                3.เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่อง (Operator) คือ ฝ่ายที่ทำหน้าที่ติดตั้งโปรแกรมลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งบริการด้านการใช้งาน ควบคุมการทำงาน และรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

                4.ผู้ใช้ (User) เป็นผู้ใช้งานระบบสารสนเทศโดยตรง

 4.ข้อมูล (Data)

    ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง และในชีวิตประจำวันเราก็มีการบันทึกข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในภายหลังอยู่เสมอ

 5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

    มีกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศอยู่ 4 ขั้นตอนหลัก คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลข้อมูล การแสดงผล และการจัดเก็บข้อมูล

    องค์ประกอบนี้ จัดเป็นกระบวนการที่นำเอาทุกส่วนมาปฏิบัติร่วมกันด้วยการวิเคราะห์ ที่เรียกว่า วงจรการพัฒนาระบบ ซึ่งมี 6 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC: System Development Lift Cycle)  มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

    1.วางแผนระบบ

    2.วิเคราะห์ระบบ

    3.ออกแบบระบบ

    4.พัฒนาระบบ

    5.ติดตั้งระบบ

    6.ดูแลรักษาระบบ

     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น